Home » ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และคำแนะนำการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และคำแนะนำการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ทำไมเราจึงต้องทดสอบการทรงตัวในผู้สูงอายุ?

เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้เกิดความเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบมองเห็น ระบบการได้ยิน ระบบประสาท และระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ความเสื่อมต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้ ผู้สูงอายุมีความแข็งแรงลดลง ความสามารถในการทรงตัวลดลง ทำให้เกิดความเสี่ยง ในการพลัดตกหกล้มเพิ่มมากขึ้น การหกล้มในผู้สูงอายุ จะนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่นภาวะกระดูกหัก กระดูกเคลื่อนทับเคลื่อนทับเส้นประสาทและความพิการ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องประเมินตนเอง ทดสอบการทรงตัว เพื่อให้ทราบถึงระดับความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ เพื่อหาวิธีและแนวทางการป้องกันที่เหมาะสม

ปัจจัยที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

ปัจจัยของตนเอง

ปัจจัยภายนอก & สิ่งแวดล้อม

การทดสอบการทรงตัวในผู้สูงอายุ

Test 1: The 30-Second Chair Stand Test

ลุก-นั่งเก้าอี้ 30 วินาที สำหรับผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)

วิธีการทดสอบ

1. วางเก้าอี้ชิดผนังเพื่อป้องกันการเลื่อน แล้วนั่งตรงกลางเก้าอี้ หลังตรง มือกอดอก เท้าทั้งสองข้างวางห่างกันประมาณช่วงไหล่

2. เริ่มการทดสอบโดยลุกขึ้นยืนตรง แล้วนั่งลงทันที พยายามทำอย่างต่อเนื่องและทำให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ภายในเวลา 30 วินาที

3. การนับจำนวนครั้ง ให้นับช่วงที่ลุกขึ้นยืนตรง

ตารางแสดงเกณฑ์มาตรฐานของการทดสอบลุก-นั่งเก้าอี้ 30 วินาที (ครั้ง)

หญิง

อายุ (ปี)

60-69

70-79

80-89

ดีมาก

22 ขึ้นไป

20 ขึ้นไป

17 ขึ้นไป

ดี

20-21

18-19

15-16

พอใช้

15-19

13-17

10-14

ค่อนข้างต่ำ

13-14

11-12

8-9

ต่ำ

12 ลงมา

10 ลงมา

7 ลงมา

ชาย

อายุ (ปี)

60-69

70-79

80-89

ดีมาก

25 ขึ้นไป

22 ขึ้นไป

20 ขึ้นไป

ดี

23-24

20-21

18-19

พอใช้

18-22

15-19

13-17

ค่อนข้างต่ำ

16-17

13-14

11-12

ต่ำ

15 ลงมา

12 ลงมา

10 ลงมา

Test 2: The 4-Stage Balance Test

การยืนเพื่อทดสอบการทรงตัว 4 แบบ สำหรับผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)

วิธีการทดสอบ

ยืนชิดผนังเพื่อป้องกันการเซ หรือมีผู้ดูแลยืนอยู่ด้วย

ยืนยันเท้าชิดกัน
ยืนต่อเท้าครึ่งหนึ่ง
ยืนต่อเท้าทั้งหมด
ยืนขาเดียว

1.

2.

3.

4.

1. การยืนยันเท้าชิดกัน (Side by side stand) ภายในเวลา 10 วินาที

2. การยืนต่อเท้าครึ่งหนึ่ง (Semi tandem stand) ภายในเวลา 10 วินาที

3. การยืนต่อเท้าทั้งหมด (Full tandem stand) ภายในเวลา 10 วินาที

4. การยืนขาเดียว (One leg stand) ภายในเวลา 10 วินาที

โดยหากแต่ละท่า ไม่สามารถยืนได้ หรือยืนได้นานน้อยกว่า 10 วินาที ถือว่ามีปัญหาการทรงตัวและเสี่ยงต่อการหกล้ม

คำแนะนำ ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของผู้สูงอายุ

ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

ท่าบริหารเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ

นั่งกระดกข้อเท้าขึ้น-ลง

ท่าบริหารเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ

แอ่นหลัง

ท่าบริหารเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ

บิดซ้าย

ท่าบริหารเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ

บิดขวา

ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

ท่าบริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ

นั่ง เตะขาขึ้น

ท่าบริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ

นั่ง ลุกขึ้น

ท่าบริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ

ยืนด้วยปลายเท้า

ท่าบริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ

ยืนพับขาขึ้นทางด้านหลัง

ท่าบริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ

ยืนพับขาไปด้านข้าง

ท่าบริหารเพื่อเพิ่มการทรงตัว

ท่าบริหารเพิ่มการทรงตัว

ยืนขาเดียว

ท่าบริหารเพิ่มการทรงตัว

เดินต่อเท้า (ไปข้างหน้า)

ท่าบริหารเพิ่มการทรงตัว

เดินก้าวไปทางซ้าย-ขวา

ท่าบริหารเพิ่มการทรงตัว

เดินถอยหลัง